Instructional Management
วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บทความการจัดการเรียนการสอนเพื่อความแตกต่าง
การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งความสำเร็จของผู้เรียนทุกคนที่มีความแตกต่างกัน
อาจารย์ ดร.สุดาพร ปัญญาพฤกษ์
ในการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนนั้น
ผู้สอนไม่สามารถทราบถึงสิ่งที่เป็นเบื้องลึกของผู้เรียนที่เสมือนเป็นภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ
หรือสิ่งที่เป็น Tacit ซึ่งมีผลในการจัดกิจกรรม
รวมไปถึงการประเมินผู้เรียนได้
ทั้งนี้วิธีการหรือแนวทางที่ดีที่สุดในการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนแต่ละคนเพื่อให้มีมาตรฐานสำหรับผู้เรียนทุกคนนั้นควรจะเป็นเช่นไร? ซึ่งคำถามนี้ก็จะคล้ายกับการสร้างบ้านที่ต้องมีการออกแบบหรือทำแปลนเพื่อสนองความต้องการของทุกคน
(ที่แตกต่างกัน) ที่อยู่ในบ้านนั้น
และมีมาตรฐานเพียงพอที่จะให้ผู้อยู่อาศัยนั้นปลอดภัยและมีความสุข
ทั้งนี้ในการสอนเพื่อความแตกต่างในชั้นเรียนที่ใช้มาตรฐานเป็นฐานนั้น
โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีความแตกต่างที่เพิ่มขึ้นทั้งเด็กพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องทางความสามารถ
หรือแม้กระทั่งเด็กที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ซึ่งลักษณะการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจมีดังนี้
1. Standards-Based
Reform: SBR ที่เน้นว่าผู้เรียนทุกคนต้องไปสู่มาตรฐาน
เราจะต้องไม่คาดหวังเด็กที่มีปัญหาต่ำเกินไป
และใส่ใจกลุ่มผู้เรียนที่มีข้อจำกัดนั้น ซึ่งข้อดีของการมีมาตรฐาน คือ
ช่วยให้ครูได้เน้นความรู้และทักษะที่สำคัญ ให้มีความสอดคล้องหรือความต่อเนื่องระหว่างผู้สอน
และระหว่างโรงเรียน ลดความคาดหวังที่ไม่ดีต่อเด็กที่มีปัญหา และเป็นตัวกระตุ้น/ส่งเสริมครูผู้สอน
2. Inclusion อันเป็นการจัดการเรียนรวมที่จะสำเร็จได้โดยขึ้นอยู่กับการจัดการของผู้เรียนแต่ละคนที่ต่างกันของครู
ซึ่ง Inclusion นี้มีประโยชน์คือ
เป็นหลักสูตรปกติที่เอื้อต่อเด็กที่มีปัญหาด้วย (ซึ่งควรรวมถึง Universal Design For Learning: UDL) นอกจากนี้ Inclusion ยังให้โอกาสเด็กมีปัญหาอยู่ในสังคมกับเด็กปกติ
อันเป็นเรียนรู้ร่วมกัน
และยังเป็นการเตรียมเด็กทุกคนเข้าสู่โลกของจริงที่เราจะต้องเจอผู้คนหลากหลายรูปแบบ
3. Cultural and
Linguistic Diversity ในชั้นเรียนที่มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของวัฒนธรรมและภาษา
ที่เป็นเพศ ชนชั้น เชื้อชาติ ภาษา เผ่าพันธุ์นี้มีอยู่ในชั้นเรียน
แต่อย่างไรก็ตามเด็กทุกคนที่ต่างกันนั้นจะต้องได้รับโอกาสในการเรียนรู้ทุกคน
ซึ่งอาจเป็นความซับซ้อนของการเรียนการสอนในบริบทที่ต้องมีมาตรฐานเป็นฐาน ข้อดีของ Cultural
and Linguistic Diversity คือ
ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสในการเรียนรู้จากผู้เรียนอื่นที่มีความแตกต่างกัน
ทำให้ผู้เรียนได้เปิดโลก/มุมมองมากขึ้น
ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนต่างวัฒนธรรม
และเตรียมเข้าสู่โลกของความจริง
จะเห็นได้ว่าทั้งสามลักษณะนี้สำคัญมากกับจัดการเรียนการสอนเพื่อความแตกต่าง
ซึ่งเราจะเห็นความแตกต่างระหว่าง SBR
ที่มุ่งสอนเพื่อจุดหมาย/มาตรฐานเดียวกัน
แต่ Inclusion มุ่งการสอนที่ต่างกันหลายแนวทาง
ทั้งนี้เราสามารถนำทั้งสามมาบูรณาการกันได้เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด
ซึ่งวิธีการ/แนวทางจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทั้งสามลักษณะข้างต้นนี้ มีดังนี้
1.
Differentiated
Instruction: DI เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีหลายแนวทางให้กับผู้เรียน
โดยจัดเนื้อหาอย่างเหมาะสม มีการปรับวิธีการสอนให้เหมาะสม
มีการปรับชิ้นงานของผู้เรียน โดยพิจารณาถึงทักษะ/ความสามารถ ทั้งนี้เป็นการเรียนการสอนที่คำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก
2.
Universal
Design For Learning: UDL เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ออกแบบที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียนที่มีร่างกาย
สติปัญญาที่บกพร่อง อันเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะร่วมกัน
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ความหลากหลายทั้งใช้เสียง ใช้การมองเห็น เป็นต้น
และการจัดกิจกรรมนั้นต้องสนองกับความสนใจและทัศนคติของผู้เรียนที่มีความหลากหลายด้วย
ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่สามรถใช้ได้กับทุกคน โดยใช้ Assistive Technology ที่อาจใช้ในทุก
item บางส่วน หรือระบบการผลิต เพื่อเพิ่มพูนหรือปรับปรุงความสามารถของผู้เรียนที่บกพร่องทางความสามารถ
3.
Sheltered
Instruction: SI การจัดการเรียนการสอนที่กำหนดโครงสร้างหรือขั้นตอนที่ชัดเจน
สำหรับผู้ที่มีความแตกต่างทางภาษา เช่น
ผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่
(English language Learners)
โดยมีขั้นตอนพื้นฐานทั้ง 8 คือ
เตรียมพร้อม ศึกษา ภูมิหลัง
ทำความเข้าใจผู้เรียน กำหนดกลยุทธ์ สร้างปฏิสัมพันธ์ ปฏิบัติและประยุกต์ใช้
จัดบทเรียน และทบทวนและประเมินผล
4.
Multicultural
Education: ME การศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม
สำหรับผู้เรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนี้ มี 5 มิติที่สำคัญ คือ มีการบูรณาการเนื้อหากัน
มีกระบวนการสร้างความรู้ (โดยครูและผู้เรียนได้ศึกษาร่วมกัน)
มีการจัดกิจกรรมที่ลดอคติกัน
มีการสร้างศักยภาพของวัฒนธรรมในโรงเรียน
(ขจัดผลที่มีต่อผู้เรียน/เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรม)
และส่งเสริมความเสมอภาคในชั้นเรียน (โดยครูใช้วิธีการสอนที่ตอบสนองรูปแบบของผู้เรียนที่ต่างกัน)
ทั้งนี้พื้นฐานของความสำเร็จของการจัดชั้นเรียนที่เป็น
Inclusive และชั้นเรียนที่ใช้มาตรฐานเป็นฐานนั้น
นอกจากการเรียนการสอน 4 วิธีการ/แนวทางข้างต้น
ต้องคำนึงถึงกรอบของความสำเร็จ ที่เรียกว่า MMECCA
อันได้แก่
· Method of Instruction อันเป็นกลวิธีหรือเทคนิค/วิธีการที่นำมาใช้ในการจัดเรียนการสอน โดยเราจะให้ความสำคัญว่าเราจะใช้แนวคิด/หลักการในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร
· Materials of Instruction เป็นสิ่งที่สำคัญในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยทำให้เข้าใจสิ่งที่เรียนได้ง่ายขึ้น
โดยเราจะสนใจเกี่ยวกับว่าการเรียนการสอนของเราเหมาะกับการใช้วัสดุ/อุปกรณ์/สื่อแบบใด
· Environment of Instruction เป็นการเน้นถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพของชั้นเรียน
การจัดการพฤติกรรมและลักษณะพื้นฐานทางสังคม/วัฒนธรรม ซึ่งเราให้ความสนใจกับ สถานที่อันเป็นบริบทในการเกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน
· Content of Instruction อันเป็นรายละเอียดที่สำคัญที่นำไปสอนและการจัดการเรียนรู้
ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับว่าอะไรเป็นสิ่งที่เด็กควรเรียนรู้และควรจะทำได้
โดยเป็นสิ่งที่ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ ที่เป็นความรู้
ข้อเท็จจริงและความเข้าใจที่สำคัญ
· Collaboration for Instruction เป็นสิ่งที่ครูต้องตระหนักในการทำงานร่วมกันเพื่อจัดการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนต่างกัน
เช่น ครูต้องแก้ปัญหาร่วมกัน หรือการสอนร่วมกัน โดยเป็นสิ่งที่สำคัญทั้งความร่วมมือกันของครูเองและกับพ่อแม่ของเด็ก
· Assessment in Instruction
เป็นการเน้นกระบวนการประเมินอย่างเป็นวงจรทั้งเริ่มต้นและสุดท้ายของการเรียนการสอน
รวมไปถึงการประเมินอย่างไม่เป็นทางการ การประเมินโดยครู
หรือการใช้แบบวัดที่เป็นมาตรฐาน
ซึ่งเราต้องให้ความสำคัญว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรเป็นสิ่งที่ผู้เรียนต้องการและอะไรเป็นสิ่งที่ผู้เรียนรู้
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าสิ่งสำคัญในการจัดการเรียนการสอนทั้ง
6
นี้เป็นสิ่งที่ครูควรตระหนักและพิจารณาการในการจัดการเรียนการสอนของตน
โดยจะนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีผู้เรียนแตกต่างกันให้มีมาตรฐานเป็นหลัก
มีการเรียนร่วมกันได้ และให้ความสำคัญกับความแตกต่างในวัฒนธรรมและภาษาของผู้เรียน
อันจะส่งผลต่อความสำเร็จของผู้เรียนต่อไป
ทั้งนี้ในประเด็นของ Method
of Instruction
ก็ได้มีแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวกับการการจัดเรียนการสอนเพื่อผู้เรียนที่แตกต่างกัน
โดยสำคัญมีดังนี้
1.
Multiple
Intelligences: MI หรือที่เรียกว่า “ทฤษฏีพหุปัญญา” ที่ถูกพัฒนาโดย Howard Gardner (1999) โดยระบุถึงความฉลาดหรือความสามารถ/ทักษะของคนที่ต่างกันถึง
9 แบบ คือ ด้านภาษา
ด้านตรรกะ-คณิตศาสตร์ ด้านดนตรี ด้านการมอง/ศิลปะ ด้านร่างกาย/การเคลื่อนไหว
ด้านการเข้าใจผู้อื่น ด้านการเข้าใจตนเอง ด้านธรรมชาติ และด้านการดำรงชีวิต/ปรัชญา
ทั้งนี้ครูจะต้องหาจุดแข็งของผู้เรียนที่มีปัญหา
เพื่อนำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมซึ่งอาจไม่ต้องใช้ทุกกิจกรรมทั้งหมดในทุกบทเรียน
ซึ่งสามารถใช้ MI สัปดาห์ละ
1 ครั้งก็ได้ ให้สนใจว่าเด็กจะเก่งได้อย่างไรมากกว่าสนใจว่าเด็กเก่งแค่ไหน
รวมไปถึงการส่งเสริมอย่างค่อยเป็นค่อยไป
และให้กำลังใจเด็กในการทำงานที่เค้าไม่ชอบเพื่อให้เด็กทำงานได้สำเร็จ
2.
Cooperative
Learning: CL ในการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้มีหลักสำคัญคือ
มีการพึ่งพากันเชิงบวก มีการปฏิสัมพันธ์กันตัวต่อตัว แต่ละคนต้องมีความรับผิดชอบ พัฒนาทักษะทางสังคม
มีการประเมินผลทั้งทางวิชากรและการเรียนรู้สังคมด้วย
ซึ่งมีเทคนิคที่ใช้ในชั้นเรียนเช่น การทำโครงงาน หรือ STAD เป็นต้น
ซึ่งในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้อาจไม่ได้ถูกนำไปใช้ในทุกหัวข้อการเรียน
โดยเราสามารถจัดกิจกรรมได้ทั้งแบบรายบุคคล เป็นคู่ เป็นกลุ่มเล็กหรือเป็นกลุ่มทั้งชั้นเรียนก็ได้
ซึ่งในบางกิจกรรมที่ผู้เรียนในกลุ่มนั้นทำไม่ได้หรือไม่ทำเลยดึงออกมาทำกิจกรรมอื่นที่เหมาะสมโดยครูมีการติดตามอยู่ด้วย
3.
Tiered
Lesson: TL เป็นการเรียนการสอนที่เด็กได้เรียนรู้ในบทเรียนที่มีความซับซ้อนต่างกัน
ตามระดับหรือรูปแบบการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งเป็นการให้ความคิดรวบยอด1 อย่างแต่ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
โดยเริ่มจากการวิเคราะห์มาตรฐาน พิจารณาถึงสิ่งที่เด็กควรรู้หรือควรทำได้
การเลือกบทเรียนที่เป็นระดับและจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเนื้อหานั้นและสุดท้ายการพิจารณาจัดเด็กในชั้นที่เหมาะสม ซึ่งการแบ่งระดับนี้อาจเริ่มจาก
2 ระดับ/แบบก่อน
โดยเป็นกิจกรรมที่ต่างกัน แต่เป็นกิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้ในประเด็นเดียวกัน
4.
Learning
Centers: LC เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เป็นแบบศูนย์การเรียน
อันเป็นการส่งเสริมผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันได้เป็นอย่างดี โดยมีหลักการคือ
การเริ่มใช้นั้นต้องเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะเด็กที่ไม่เคยได้ใช้รูปแบบนี้
ต้องมีการบอกกฎกติกาก่อน ซึ่งมุมต่างๆก็จะมีกิจกรรม/งานที่ต่างกัน
ควรมีการสะท้อนกลับการใช้มุมต่างๆของเด็ก
มุมต่างๆนั้นจะมีเนื้อหาที่เด็กอาจได้เรียนรู้มาบ้างแต่จะมีกิจกรรมเสริม/เพิ่มเติม
และใช้สื่อในมุมที่อยู่ใกล้เคียงได้
กิจกรรมแต่ละมุมนั้นจะเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นเด็ก
และมุมแต่ละกลุ่มสามารถแยกมุมย่อยได้อีก
5.
Graphic
Organizers: GO การแสดงความคิดรวบยอดโดยการใช้รูปภาพ
ที่เกี่ยวกับการมองอันเป็นการจัดการข้อมูลโดยใช้กราฟิกที่เป็นการแสดงถึงความคิดรวบยอดหลักกับความสัมพันธ์ระหว่างความคิดรวบยอดที่มี
ซึ่ง GO นี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนางานของตนเองจากการใช้ความคิดรวบยอดนั้น
โดย GO นั้นครูอาจออกแบบเพื่อให้เติมเต็มความคิดของผู้เรียนเพิ่มเติม
หรือให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความคิดอย่างต่อเนื่องกันได้ โดยแต่ละกราฟิกก็จะเอื้อประโยชน์ในการจัดระบบการคิดที่แตกต่างกันออกไป
เช่น KWL Chart, Venn diagrams และ story maps รวมไปถึง
รูปแบบ Bubble map เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันได้มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดการกราฟิกเพื่ออำนวยความสะดวกมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ในประเด็นของการส่งเสริมชั้นเรียนที่มีความแตกต่างกันโดยการใช้สื่อ/วัสดุ/อุปกรณ์สำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้นต้องคำนึงถึงการออกแบบที่สอดคล้องกับผู้เรียนโดยให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ที่ผู้เรียนพึงควรได้รับ
การใช้สื่อวัสดุนี้ควรมีการใช้ทรัพยากรสิ่งพิมพ์ เพื่อเพิ่มคุณค่า เช่น
หนังสือ/ตำรา/รูปภาพ
การใช้เพื่อวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยการใช้รูปภาพ เรื่องราว
และผู้เขียนเป็นสำคัญ และการใช้พจนานุกรมและเครื่องช่วยอื่นๆ
นอกจากนี้ยังสามารถใช้สื่อไฟฟ้า สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น MP3 players หรือในสมัยใหม่ที่นำคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตที่เป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีทางศึกษาอันสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้
Web 2.0 เช่น Blogs, WiKis, Podcasting, Social Networking เป็นต้น
เอื้อเฟื้อแนวคิด
Voltz,
Deborah L. , Sims, Michele Jean & Nelson, Betty. (2010). Connecting
teacher, students,
and standards: strategies for success in
diverse and inclusive classrooms. Alexandrin,
VA: ASCD publication.
แบบทดสอบ
แบบทดสอบ: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้
คำชี้แจง:
1. เลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
2. ทำแบบทดสอบให้ครบทั้ง 2 ข้อ"คลิกที่ปุ่มคำตอบ"
3. ถ้าตอบผิด โปรดคลิกปุ่ม"คำตอบที่ถูกต้อง"
Let Start
คำถามข้อที่ 1: ใครคือผู้ริเริ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม
1.โคลเบิร์ก
2.เพียเจต์
3.บรูเนอร์
4.วีกอตสกี
คำตอบที่ถูกคือ ข้อ 4.
คำถามข้อที่ 2: ทฤษฎีการเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นการผสมผสานระหว่างทฤษฎีใด
1.พฤติกรรมนิยมและพุทธินิยม
2.พฤติกรรมนิยมและจิตนิยม
3.พุทธินิยมและจิตนิยม
4.มนุษยนิยมและจิตนิยม
คำตอบที่ถูกคือ ข้อ 1.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)